สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม-4 มิถุนายน 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์เบื้องต้น ณ เดือนพฤศจิกายน 2565
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.898 ล้านไร่ ผลผลิต 27.013 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 429 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับ
ปีการผลิต 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.917 ล้านไร่ ผลผลิต 26.703 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 424 กิโลกรัม พบว่าเนื้อที่เพาะปลูก ลดลงร้อยละ 0.03 ส่วนผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.16 และร้อยละ 1.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากคาดว่าเกษตรกรปรับเปลี่ยนที่นาบางส่วนไปปลูกพืชอื่นที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
เช่น มันสำปะหลัง แต่เนื้อที่ลดลงไม่มาก เพราะเกษตรกรยังคงคาดหวังว่ารัฐบาลจะมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหมือนที่ผ่านมา สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ คาดว่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว จึงส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตข้าวทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2566 คาดการณ์มีการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2566/67 จำนวน 20.989 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 33.37 ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.746 ล้านไร่ ผลผลิต 7.614 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.547 ล้านไร่ ผลผลิต 6.171 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 646 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.03 ร้อยละ 23.39 และร้อยละ 0.31 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักและปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยาย
เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอ
ต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2566 คาดการณ์มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2566 ปริมาณ 6.758 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 88.76 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,679 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,636 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,964 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,937 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,990 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.99
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนามปรับกลยุทธ์การส่งออกข้าว
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม ระบุว่า ราคาส่งออกข้าวในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566
เฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 517 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศ
ผู้นำเข้าข้าวเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ปริมาณ 1.29 ล้านตัน มูลค่า 647.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 40.6 และร้อยละ 53.4 ตามลำดับ และเวียดนามส่งออกข้าวไปยังอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นถึง 26.3 เท่า เช่นกัน ขณะที่ส่งไปยังไอวอรีโคสต์ลดลงร้อยละ 49.8
โดยที่ผ่านมา เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดียและไทย โดยในปี 2566 รัฐบาลปรับกลยุทธ์การส่งออกข้าวให้ลดลงเหลือ 4 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 เพื่อเน้นการส่งออกข้าวคุณภาพสูง
เป็นหลักประกันความมั่นคงทางด้านอาหารภายในประเทศ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และปรับให้สอดคล้องกับ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จึงส่งผลให้มูลค่าการส่งออกลดลงเหลือ 2.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิม
ในปี 2565 ส่งออกปริมาณ 7.1 ล้านตัน มูลค่า 3.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ สถานการณ์การผลิตและแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้เวียดนามปรับตัวแบบมียุทธศาสตร์ มุ่งพัฒนาพันธุ์ข้าวพรีเมียม และเน้นขายให้ลูกค้าประจำ
ที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีแผนจะกระจายตลาดส่งออกข้าวเพื่อลดการพึ่งพาจากประเทศใดประเทศหนึ่ง
ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 45 ของปริมาณการส่งออกในปี 2565
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามกล่าวกับประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ในการประชุมระดับภูมิภาคที่อินโดนีเซีย
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ว่า เวียดนามยินดีที่จะจัดหาข้าวให้กับฟิลิปปินส์ในระยะยาวด้วยราคาที่เหมาะสม
ทั้งนี้ ภายในปี 2568 การส่งออกข้าวของเวียดนาม ร้อยละ 60 จะส่งไปยังตลาดเอเชีย ร้อยละ 23 ตลาดแอฟริกา
ร้อยละ 7 ตลาดสหรัฐฯ  ร้อยละ 4 และส่งไปยังตลาดตะวันออกกลางและยุโรปเท่าๆ กัน คือร้อยละ 3 และรัฐบาล
ระบุว่า ภายในปี 2568 เวียดนามจะเน้นการผลิตข้าวหอมและข้าวเหนียวคุณภาพสูง รวมทั้งลดการผลิตธัญพืชคุณภาพต่ำเหลือร้อยละ 15 ของผลผลิตทั้งหมด และเหลือร้อยละ 10 ภายในปี 2573
ผู้ค้าข้าวในนครโฮจิมินห์ กล่าวว่า “แม้พื้นที่นาของเวียดนามจะลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และเกษตรกรบางส่วนเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นและเลี้ยงกุ้ง แต่กลยุทธ์ดังกล่าวเป็นกลยุทธ์เชิงรุกเกินไป” รวมทั้งมีผู้ค้าข้าวรายอื่น กล่าวเพิ่มเติมว่า “ชาวนาบางคนในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง กำลังเปลี่ยนที่นาบางส่วนไปทำสวนผลไม้ เช่น มะม่วง ส้มโอ ขนุน และทุเรียน แต่ส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาการปลูกข้าว สำหรับแนวโน้มการเลี้ยงกุ้ง เกิดขึ้นในพื้นที่มานานหลายปี เนื่องจากน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ความเค็มเพิ่มขึ้นอย่างมากในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง”
ที่มา VOICE OF VIETNAM และ กรุงเทพธุรกิจ

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.73 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.64 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 370.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,745.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 378.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,990.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.12 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 245.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 594.00 เซนต์ (8,164.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 586.00 เซนต์ (8,017.00 บาท/ตัน)  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 147.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)
คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.400 ล้านตัน (ร้อยละ 4.28 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการตามปกติ และมีเชื้อแป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย 17-22%
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.95 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 3.03 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.64
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.17 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.12 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.42 บาท ราคาคงตัวที่กิโลกรัมละ 8.42 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.40 บาท ราคาคงตัวที่กิโลกรัมละ 18.40 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 266.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,260 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่ 269.70 ดอลลาร์สหรัฐ (9,320 บาทต่อตัน) คิดเป็นร้อยละ 1.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,550 บาทต่อตัน)  ราคาคงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,440 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.704 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.307 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.621  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.292 ล้านตันของเดือนเมษายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 5.12 และร้อยละ 5.14 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.33 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 4.81 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.81
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.78 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.65 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,419.79 ริงกิตมาเลเซีย (26.14 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 3,571.26 ริงกิตมาเลเซีย (27.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.24  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 873.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30.47 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 921.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.21
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          -  กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่า น้ำตาลโลกส่วนเกินในปี 2566/2567 มีปริมาณอยู่ที่ 7.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 1.27 ล้านตัน ที่เกินดุลในปี 2565/2566 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปริมาณผลผลิตน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นของบราซิล และอินเดีย ด้านบริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting เตือนว่าผลผลิตอ้อยในปี 2567/2568 ในภาคกลาง – ใต้ของบราซิลอาจฟื้นตัวขึ้นได้ ซึ่งสิ่งสำคัญนั้นเนื่องมาจากปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และการลงทุนในการดูแลไร่อ้อยที่ดี
          - รัฐบาลของประเทศอินเดีย คาดการณ์ว่า จะประกาศโควตาการขายน้ำตาลของโรงงานที่ 2.3 ล้านตัน ในเดือนมิถุนายน ซึ่งลดลงจาก 2.4 ล้านตันในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากความต้องการซื้อน้ำตาลที่ลดลง และตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ราคาน้ำตาลในประเทศของอินเดียทรงตัว ด้านกระทรวงเกษตรอินเดีย เปิดเผยประมาณการผลผลิตอ้อยครั้งที่สามสำหรับปี 2565/2566 อยู่ที่ 494 ล้านตันเพิ่มขึ้น 55 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,314.8 เซนต์ (16.81 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,329.8 เซนต์ (17.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.12
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 395.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.76 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 407.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 47.19 เซนต์ (36.18 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 48.37 เซนต์ (37.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.43


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,070 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,897 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,464 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1, 373  บาทคิดเป็นร้อยละ 6.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  78.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.54 คิดเป็นร้อยละ 1.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 85.39 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 77.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.37 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.50 คิดเป็นร้อยละ 2.68 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 46.06 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ลดลงจากตัวละ 16.50 คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.68 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 352 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 351 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.39 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 361 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 390 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 393 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.75 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 402 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 408 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 357 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 443 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 435 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 93.56 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.99 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 91.90 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.73 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 74.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 75.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.52 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.42 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน


 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.19 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.45 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.99 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 125.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.26 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 120.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท เนื่องจากตลาด
มีความต้องการบริโภคลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.34 บาท ราคาทรงตัวของสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 245.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.05 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท